8pt ตัวเลขมหัศจรรย์ที่นักออกแบบ UI ใช้กัน
8pt ตัวเลขมหัศจรรย์ที่นักออกแบบ UI ใช้กัน

8pt ตัวเลขมหัศจรรย์ที่นักออกแบบ UI ใช้กัน

ใครที่เป็นนักออกแบบ UI หรือ User Experience Designer คงคุ้นเคยกับดีกับกฏการใช้ 8pt Layout Grid System เพราะสิ่งเหล้านี้สามารถช่วยให้นักออกแบบสามารถจัดวางโครงสร้างได้ดีขึ้น เป็นระบบระเบียบ ด้วยการเว้นระยะห่าง

อะไรคือ 8pt Layout Grid System?

อะไรคือ 8pt Layout Grid System?
อะไรคือ 8pt Layout Grid System?

การออกแบบเว็บไซต์ แอปพลิเคชั่น แดชบอร์ดต่างๆ ล้วนนี้มีหน้าจอที่หลากหลาย และความหนาแน่นของ Pixel แตกต่างกันออกไป

ทำให้นักออกแบบต้องจัดการองประกอบต่างๆ ให้ดีๆ การใช้ระบบการออกแบบ 8pt จะช่วยให้นักออกแบบทำงานง่ายขึ้น เพราะขนาดหน้าจอส่วนใหญ่นั้นจะสามารถหารด้วย 8 ลงตัว ซึ่งทำให้มันง่ายขึ้นหากเราใช้หลักการของ 8pt Grid คือการใช้ผลคูณของ 8 (8, 16, 24, 32, 40, 48, 56, ฯลฯ) ในการจัดวาง ขนาด การเว้นช่องว่าง และส่วนอื่นๆขององค์ประกอบ

นอกจากนี้ยังเป็นตัวเลขที่สามารถจำได้ง่ายๆ ในการหารเพื่อใช้งานจะไม่มีเศษ .5 ให้รู้สึกรำคาญใจ เช่น 10 คุณจะได้ผลลัพธ์ด้วย 5px, 2.5px และ 1.25px ตามลำดับ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้ครึ่งพิกเซลให้มากที่สุด มันทำให้ยุ่งยากกับการทำงาน

ทำการเว้นระยะห่าง (Spacing Space) ถึงสำคัญ?

ทำการเว้นระยะห่าง (Spacing Space) ถึงสำคัญ?
ทำการเว้นระยะห่าง (Spacing Space) ถึงสำคัญ?

การเว้นระยะห่างถือเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ เพราะมันทำให้ดูเป็นระบบระเบียบ สะอาดตา เมื่อผู้ใช้งานเข้ามาใช้งานจะได้รู้สึกง่ายต่อการใช้งานมากขึ้น ดังนั้นสิ่งที่คุณจะได้จากการปรับปรุงจากการเว้นระยะห่างให้พอดีคือ

  • ผู้ใช้สามารถอ่านเนื้อหาได้ง่ายขึ้น
  • สร้างลำดับชั้นของข้อมูลที่ถ่ายทอดความสำคัญไปยังผู้ใช้
  • สร้างความเป็นระเบียบให้การออกแบบของคุณ

ขนาด (Sizing)

8pt ตัวเลขมหัศจรรย์ที่นักออกแบบ UI ใช้กัน
8pt ตัวเลขมหัศจรรย์ที่นักออกแบบ UI ใช้กัน

การจัดขนาดพื้นที่ต่างๆ ขนาดขององค์ประกอบที่เราใส่ลงไปในงานจะต้องมีขนาดที่สัมพันธ์กัน เพื่อให้องค์ประกอบต่างๆดูสมดุล ปุ่มกดและรูปแบบต่างๆมักจะดูวัดสัดส่วนพื้นฐานจาก 8 และค่อยเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ

การทำแบบนี้จะช่วยให้สามารถกำหนดโครงสร้างที่ชัดเจน ลำดับชั้น และจังหวะในการออกแบบของคุณ องค์ประกอบนี้ยังสามารถนำไปใช้กับความสูงของเส้น ปุ่ม และรูปแบบการป้อนข้อมูลได้อีกด้วย ขนาดเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างงานของคุณให้ออกมาสมบูรณ์แบบ

ช่องว่างระหว่างเส้นขอบและความหนา (Padding)

ช่องว่างระหว่างเส้นขอบและความหนา (Padding)
ช่องว่างระหว่างเส้นขอบและความหนา (Padding)

นักออกแบบ UI ต้องคำนึงถึงการเว่นช่องว่างภายในพื้นที่ เพื่อให้สมดุลกับเนื้อหาที่มีไม่ใช้เพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถอ่านได้ง่ายขึ้นด้วย ซึ่งขนาดของปุ่มเหล่านั้นการเว้นระยะพื้นที่ต่างๆ ก็สามารถใช้ได้กับรูปแบบเดิมคือการวัดจาก (8, 16, 24, 48)

ตัวอย่าง: 
ใช้การเพิ่มทีละ 8 เพื่อปรับขนาดและเว้นวรรคองค์ประกอบในหน้า เมื่อทำเช่นนั้น ความสูง ความกว้าง ระยะขอบ หรือการเพิ่มเติมใดๆ ที่กำหนดไว้จะเพิ่มขึ้นทีละ 8

ระยะห่างตัวหนังสือ

เปรียบเทียบสองภาพด้านล่าง ทางด้านซ้ายใช้ระยะห่างเท่ากันทุกที่ ส่วนทางขวาใช้แบบ 8pt Layout Grid System การเว้นวรรค ช่องว่างภายในคอนเทนเนอร์ และการเว้นวรรคระหว่างไอคอน ข้อความ และปุ่มนั้นแตกต่างกันทั้งหมด

8pt ตัวเลขมหัศจรรย์ที่นักออกแบบ UI ใช้กัน
8pt ตัวเลขมหัศจรรย์ที่นักออกแบบ UI ใช้กัน

ลองสังเกตว่าภาพด้านซ้ายดูลอยและยุ่งเหยิง? แต่ภาพทางขวาดูสมดุลและเรียบร้อย

ระยะพื้นที่กับไอคอน

8pt ตัวเลขมหัศจรรย์ที่นักออกแบบ UI ใช้กัน
8pt ตัวเลขมหัศจรรย์ที่นักออกแบบ UI ใช้กัน

ออกแบบไอคอนตามกฎ 8px แบบเดียวกัน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไอคอนที่เราวางในงานออกแบบถูกจัดกรอบไว้ภายในคอนเทนเนอร์ที่ใช้ค่า 8 (เช่น 24×24) วิธีนี้จะช่วยให้วางไอคอนได้อย่างสม่ำเสมอภายในการออกแบบของคุณ ขนาดไอคอนมาตรฐานคือ 24px x 24px แต่เราสามารถใช้ขนาดที่เล็กกว่าหรือใหญ่กว่าได้

หากใครที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมหรือตัวอย่างการใช้งานสามารถไปดูเพิ่มเติมที่นี่ได้: https://spectrum.adobe.com/page/responsive-grid/

เราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้นักออกแบบ UI หลายคนลองนำไปปรับใช้กับงานได้ เพื่องานที่เรียบร้อย และดูเป็นระเบียบ มีความสม่ำเสมอมากขึ้น ลองใช้วิธีการเว้นระยะ 8px แล้วงานออกแบบของคุณจะดูดีขึ้นมาก

หากใครที่สนใจจะสร้างเว็บไซต์ให้เป็นแบบมืออาชีพสามารถใช้บริการของ Astra Studio ได้ เรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ และคำปรึกษาทุกขั้นตอนเพื่อให้งานของคุณออกมาแบบมีประสิทธิภาพมากที่สุด

อย่าลืมกดติดตามช่องทางต่างๆ ของเราเพื่อรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมกันนะ
บริการของเรา >> บริการ Astra studio 
Medium: Medium Astra Studio
Website: Astra Studio